ผลิตภัณฑ์ประเภท ปลาย่าง
หมวด : อาหาร
ประวัติความเป็นมา
นางมาลี ไข่รัศมี ประธานกลุ่ม ได้รับความรู้การทำปลาย่างจากคุณยายแฉล้ม คุณแม่เฉลียว ห้องจำปา ยายแฉล้มเล่าว่า มีลูกหลายคน มีที่ทำนาก็เป็นที่ดอน ทำนาไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร ต้องทำอาชีพหาปลามากินด้วย เพราะมีลูกหลายคน ถ้าได้มาก็เหลือขาย ในอดีตยายบอกว่าปลาชุกชุมมากเวลาช่วงปีใหม่ น้ำลดลงลมโยกต้นข้าว ปลาจะออกจากทุ่งนา หาทางออกจะช่วยกันจับได้เป็นลำเรือ ตวงขายเป็นปี๊บ จะนำมาทำน้ำปลา ปลาร้า และย่างไว้กิน ฤดูแล้งยามขาดแคลน ยายบอกว่า ทำปลาย่างเก็บไว้ขายช่วงกลางปีขายดีมากได้ราคา สามารถนำไปต้มแง ตำป่นได้ทำจนชำนาญ มีชื่อเสียง จนมีชาวบ้านนำไปทำเป็นแบบอย่าง ยายแฉล่มเล่าว่าในสมัยสงครามกรุงศรีอยุธยารบกับพม่าก็จะมีการเตรียมเสบียงอาหารให้ทหารเวลาออกรบกับข้าศึก และชาวบ้านก็จะใช้ปลาย่าง ปลาเค็ม พกติดตัว เวลาอพยพย้ายที่อยู่ หรือเดินทางไกล เพราะปลาย่าง ปลาเค็ม เก็บได้นาน พกพาสะดวก และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ร่างกายแข็งแรง จากเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น นางมาลี ไข่รัศมี ผู้ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา นำความรู้ลองทำปลาย่างดูบ้าง ครั้งแรกทำไว้กินก่อน มีชาวบ้านมาขอซื้อไปกิน เห็นว่าอร่อยหอม กินดีมีประโยชน์ จนมีชาวบ้านสั่งทำจนไม่พอขาย และเมื่อปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลสนับสนุน การรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์โอท็อป นางมาลี ไข่รัศมี จึงได้ชวนชาวบ้านมารวมกันทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อจะได้ผลิตให้ได้มาก พอจำหน่ายครั้งแรก มีสมาชิก จำนวน 10 คน ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 25 คน กรมประมงสนับสนุนโรงเรือนจนได้มาตรฐาน อย. ปัจจุบันคนนิยมบริโภคปลาเพื่อสุขภาพมาก เพราะมีแคลเซี่ยม โปรตีนสูง จนมีสโลแกนว่า กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา มัจฉาให้โปรตีน วิตามินมาจากผัก คำว่า สุวรรณมัจฉา มาจากคำว่า - สุวรรณ แปลว่า ทอง เพราะปลาย่าง ย่างจากขี้เลื่อยไม้สักทอง และกาบมะพร้าว ทำให้ปลาหอม สีเหลืองเหมือนทอง - มัจฉา แปลว่า ปลา มัจฉาเป็นนางในวรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

คนนิยมบริโภคปลาเพื่อสุขภาพมาก เพราะมีแคลเซี่ยม โปรตีนสูง
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

ความสัมพันธ์กับชุมชน

เมื่อปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลสนับสนุน การรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์โอท็อป นางมาลี ไข่รัศมี จึงได้ชวนชาวบ้านมารวมกันทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อจะได้ผลิตให้ได้มาก พอจำหน่ายครั้งแรก มีสมาชิก จำนวน 10 คน ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 25 คน กรมประมงสนับสนุนโรงเรือนจนได้มาตรฐาน อย.
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ


1. ขี้เลื่อย
2. กาบมะพร้าว
3.ไม้เสียบปลา
4. น้ำแข็ง
5.ปลาสด เช่น ปลาสวาย ปลาสร้อย ปลาแดง
6. ข่าปลาย
7. กะละมัง
ขั้นตอนการผลิต

1. นำปลามาจากตลาด อาจเป็นปลาสร้อย ปลาแดง ปลาสวายฯลฯ
2. นำปลาที่ได้มาแช่น้ำแข็ง ในถังน้ำแข็ง
3. นำปลามาแหวะไส้ออก ล้างให้สะอาด
4. แช่น้ำแข็งอีกครั้ง เพื่อให้ปลาคงความสด
5. นำปลาที่แช่จนสดแล้ว มาเสียบด้วยไม้เสียบลูกชิ้น เป็นรูปร่างหัวท้าย ให้สวยงามเรียงให้เป็นระเบียบ
6. นำปลาที่เสียบเป็นรูปร่าง มาล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง
7. นำปลาขึ้นมาเรียงบนข่าปลาย่าง ให้เป็นระเบียบ จนเต็มข่า
8. ใส่ขี้เลื่อย กาบมะพร้าว ลงในข่าปลาย่าง จุดไฟ
9. อบปลาทิ้งไว้ประมาณ 2ชั่วโมง
10.กลับปลาอีกด้าน ทิ้งไว้ ครึ่งชั่วโมง
11. ลมควันเพื่อให้ได้ปลาสีเหลืองทอง สวยงาม
12. เก็บปลาย่างออกจากข่า ลงบรรจุกล่องพร้อมจำหน่าย
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
ปลาย่าง ย่างจากขี้เลื่อยไม้สักทอง และกาบมะพร้าว ทำให้ปลาหอม สีเหลืองเหมือนทอง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสัตว์น้ำสำพะเนียง
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นางมาลี ไข่รัศมี
ที่อยู่ 98 ม.1 ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13240
เบอร์โทรศัพท์ 08-6306-4435, 08-3718-8191