เครื่องเบญจรงค์
หมวด : ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
ประวัติความเป็นมา
เครื่องเบญจรงค์มีสืบทอดทั้งโบราณกาลตั้งแต่จีนมีสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย ไม่ว่าจะเป็นสมัยสุโขทัย (มีชามสังคโลก) และสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และสืบทอดมายังยุครัตนโกสินทร์ เครื่องเบญจรงค์เมื่อก่อนผลิตมากที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แต่วิชาความรู้ได้เผยแพร่มาสู่ นายสุขสันต์ ใจซื่อตรง ซึ่งเป็นคนสนิท ของอาจารย์ประทีป โหมดสกุล จึงได้ชักชวน อาจารย์ประทีป โมหดสกุลและครอบครัวเรียนรู้เรื่องการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มสามเมืองเบญจรงค์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2548 มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน โดยเล็งเห็นว่าการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทยการเขียนเครื่อง เบญจรงค์เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังมิให้สูญหายไป จึงนำวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาฝึกสอนให้กับสมาชิก โดยมีเทศบาลตำบลสามเมือง เป็นผู้สนับสนุน มีการเรียนการสอนในชุมชนและเผยแพร่ในโรงเรียนวัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา) โดยมี อาจารย์มณี โหมดสกุล เป็นผู้สอนคู่กับ อาจารย์ประทีป โหมดสกุล ซึ่งเครื่องเบญจรงค์มีหลายลวดลาย ทั้งใช้ความละเอียดอ่อน ความประณีต ความอดทนต่อชิ้นงาน เพื่อฝึกสมาธิตนเองจึงได้ผลงานออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม จึงผ่านมาตรฐานและได้รับรองคุณภาพสินค้าและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ต่อมาจึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ จดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ


รางวัลที่ได้รับ - ปี 2554 ประกาศนียบัตรเกียรติคุณจากคณะกรรมการประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ งานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 60 ณ อิมเพคเมืองทองธานี
ความสัมพันธ์กับชุมชน

คนในชุมชนเกิดรายได้จากการจ้างงาน ที่ใช้ในการผลิตวัตถุดิบ บางชนิดได้มาจากชุมชน ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการขายวัตถุดิบ และสมาชิกมีเงินสะสมจากการทำงานเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีขึ้นในครอบครัวสมาชิกและคนในชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในด้านต่างๆ
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ


1. ภาชนะเซรามิค
2. สีเซรามิค
3. น้ำทองคำ 1.2 %
4. น้ำยาเคลือบ
5. พู่กัน
6. ปากกาหมึกซึม
7. ปากกาน้ำทอง
8. แป้นหมุน
9. เตาอบ
10. ไม้จิ้มฟัน
ขั้นตอนการผลิต

ขั้นที่ 1 ฝึกเขียนลายในกระดาษแบบฝึกจนเกิดความชำนาญ
ขั้นที่ 2 ฝึกเขียนด้วยปากกาหมึกซึมบนเซรามิคขาว
ขั้นที่ 3 เขียนลายลงเซรามิคขาวด้วยปากกาน้ำทอง
ขั้นที่ 4 ลงสีเบญจรงค์บนลายที่เขียน เขียนปากกาน้ำทองเสร็จ ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้ว จะนำมาลงสีตามลายที่เขียนทองไว้จนครบ การลงสีต้องไม่หนาจนเกินไป เพราะจะทำให้สีหลุดง่าย และต้องไม่บางจนเกินไป เพราะจะทำให้สีจางได้ง่าย ความเร็วในการทำงาน การลงสีนี้ อาจจำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือหลายคน หากชิ้นงานมีรายละเอียดมากๆ ต้องมีการจัดแบ่งส่วนในการลงสีกัน ต่อมาจะทำการเก็บรายละเอียดต่างๆ และวนทองตามส่วนต่างๆ อีกครั้ง เช่น หูแก้ว ขอบโถ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 การอบเครื่องเบญจรงค์ นำเข้าเตาเผา โดยเผาในอุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผาประมาณ 8ชั่วโมง เมื่อเตาเย็น จึงนำเครื่องเบญจรงค์ออกมา และวางรอไว้จนอุณหภูมิเย็นลงในอุณหภูมิป
ขั้นที่ 6 การบรรจุและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

- มีการคิดค้นเขียนลายที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ๆ
- เลือกสรรคัดกรองคุณภาพ หรือ วัตถุดิบที่มีคุณภาพในการผลิต
กลุ่มสามเมืองเบญจรงค์
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ร.ต.ประทีป โหมดสกุล
ที่อยู่ 40/108 ม.3 ตำบลสามเมือง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา *
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- ศูนย์ OTOP จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- องค์กรต่างๆ แล้วแต่สั่งทำ
- โรงเรียนวัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา)
- ออกบูทจัดจำหน่ายสินค้าตามโครงการที่กลุ่มได้เข้าร่วม