ไม้แขวนเสื้อ
หมวด : ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
ประวัติความเป็นมา

เริ่มแรก นางสาวกาญจนา เลือดแสงไทย ผู้ผลิตมีอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งทำมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รู้จักกับบุคคลที่ไปเรียนที่ญี่ปุ่นคือ นายทวีศักดิ์ เห็นว่ามีเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นจำนวนมากจึงแนะนำให้ทำไม้แขวนเสื้อส่งไปขายที่ญี่ปุ่นโดยนายทวีศักดิ์เป็นผู้ติดต่อการตลาดที่ประเทศญี่ปุ่น ครั้งแรกมีการสั่งออเดอร์มากถึง ๖๐,๐๐๐ อัน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศชื้นและเย็นทำให้เกิดกลิ่นอับ จึงได้คิว่าจะทำยังไงไม่ให้เกิดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้าได้ลองวิธีการต่างๆ โดยใส่กลิ่นหอมลงในไม้แขวนเสื้อ เริ่มแรกใช้เม็ดหอมที่ทำมาจากโฟมซึ่งมีราคาสูงและไม่สามารถเก็บกลิ่นไว้ได้นาน จึงเปลี่ยนมาใช้กระดาษสาและดอกไม้แห้งก็ไม่สามารถเก็บกลิ่นได้อีก จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์อัชรา มหาวิทยาลัยราชมงคล ให้ใช้ซังข้าวโพดเป็นตัวเก็บกลิ่น ครั้งแรกนั้นยังไม่มีเครื่องบดซังข้าวโพดก็ใช้วิธีการทั้งทุบทั้งสับทุกอย่างเพื่อให้มันเล็กที่สุดแล้วนำไปตากแดกให้แห้ง จนมีการพัฒนาเกิดโรงงานรับบดโดยเฉพาะจึงไปจ้างบด และได้ส่งไปขายที่ญี่ปุ่นอีกครั้งทำให้เกิดความนิยมกันมาก จนได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสารบางกอกว่าเป็นสินค้า OTOP ที่สามารสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและเป็นที่แปลกใหม่น่าสนใจในเวลานั้น
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ



- มาตรฐานผิตภัณฑ์ชุมชน (มชช) - ๓ ดาว OTOP ปี ๔๗ ถึงปัจจุบัน
ความสัมพันธ์กับชุมชน

กลุ่มเครื่องหอมไทย (ใช้วัตถุดิบ หัวน้ำหอมจาก อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน) - อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ



- ไม้ยางพารา
- ลวดเบอร์ ๑๒
- ผ้า (ผ้าต่วน ผ้าทั่วไป)
- ฟองน้ำ
- ลูกปัดหอม
- หัวน้ำหอม
ขั้นตอนการผลิต



๑. นำไม้ยางพารามาตัดโดยใช้เลื่อยวงเดือนตัดให้ได้รูปโค้ง ขนาด ยาว ๑๖ นิ้ว กว้าง ด้านละ ครึ่งนิ้ว เป็นโครงไม้แขวนเสื้อ
๒. นำลวดมาตัดให้ได้ความยาว ๘ นิ้ว แล้วนำมายึดติดกับท่อเหล็กทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ นิ้ว แล้วดัดให้โค้งตามท่อเพื่อให้ได้ลวดแขวนของไม้แขวนเสื้อ
๓. ใช้สว่างเจาะรูกึ่งกลางของโครงไม้แขวนเสื้อและนำลวดแขวนที่ดัดไว้มายึดเข้ากับโครงไม้แขวนเสื้อ
๔. นำผ้ามาตัดเป็นผ้าเฉลียง ความยาวตามขนาดของลวดแขวนของไม้แขวนเสื้อ แล้วเย็บไส้ไก่เพื่อหุ้มลวดแขวนของไม้แขวนเสื้อ
๕. นำผ้ามาตัดยาว ๙ นิ้ว กว้าง ๓.๕ นิ้ว ๔ ชิ้น แล้วเย็บย่นนำมาประกบกันจึงเย็บซ้ำอีกครั้งเพื่อนามาหุ้มตัวโครงไม้แขวนเสื้อ
๖. นำฟองน้ำยาว ๓๖ นิ้ว กว้าง ๓ นิ้วมาหุ้มโครงไม้แขวนเสื้อ และใช้ฟองน้ำขนาดเล็กหนุนฐานของโครงไม้แขวนเสื้อ
๗. นำลูกปัดหอม (ซังข้าวโพดบด) ๒ กิโลกรัม ต่อหัวห้ำหอม ๑ ลบ.ซม มาคลุกให้เข้ากัน ผึ่งให้แห้งโดยใช้ผ้าปิดหรือฝาเมื่อแห้งแล้วจึงนำมาโรยที่ฟองน้ำก่อนหุ้มโครงไม้แขวนเสื้อ
๘. เมื่อนำผ้ามาหุ้มเสร็จแล้วจึงเย็บตัวผ้าหุ้มปิดกับเดีอยไก่
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

- ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนคือซังข้าวโพด เป็นวัตถุดิบธรรมชาติ
ไม้แขวนเสื้อ
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นางสาวกาญจนา เลือดแสงไทย
ที่อยู่ 7/3 ม.5 ตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เบอร์โทรศัพท์ 0899856720
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ในประเทศ
- บ.คิวสอน
- บ.โฮเทล แอนโฮม อินโนเวชั่นจำกัด
- ตลาดสัมเพ็ง
- บ.สยามรักษ์
- จังหวัดภูเก็ต นอกประเทศ
- ญี่ปุ่น
- ไต้หวัน
- ออสเตเรีย