บ้านเรือนไทยย่อส่วนจากดิน
หมวด : ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
ประวัติความเป็นมา

การปลูกสร้างบ้านเรือนไทยเป็นที่อยู่อาศัยนั้น มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของคนไทยที่คิดออกแบบที่อยู่อาศัยให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของคนไทยแต่ละภาค บ้านเรือนไทยภาคกลางนั้นโดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีลักษณะใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงหน้าน้ำหลาก และใช้ใต้ถุนบ้านประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงว่างเว้นจากการทำนา ช่วงบนบ้านก็ออกแบบให้พื้นบ้านมีพื้นต่างระดับกัน มีช่องลม เพื่อให้ลมพัดผ่าน อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายความร้อน ในปัจจุบัน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย จะรับเอาศิลปะของประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นตึก ก่อสร้างด้วยอิฐและปูนมาใช้ปลูกสร้างกันมากขึ้น ทำให้บ้านเรือนไทยเริ่มมีน้อยลง ซึ่งน่าเป็นห่วงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยเราจะสูญหายไป กลุ่มบ้านเรือนไทยย่อส่วนจากดิน ได้รวมตัวสมาชิกที่มีความสนใจในด้านนี้มารวมกลุ่มกันเพื่อสืบสาน และรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างไว้ โดยการจัดทำเป็นบ้านเรือนไทยจำลองจากดินขึ้น โดยการย่อส่วนให้เหมือนจริงตามหลักวิชาการ ในปี พ.ศ. 2542 โดยทำเป็น งานประดิษฐ์ตกแต่งและของที่ระลึก ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย บ้านเรือนไทยที่ทางกลุ่มได้จัดทำมี 5 ประเภท 10 แบ คือ ไทยเรือนเดี่ยวมี 6 แบบ ไทยร้านค้า ไทยเรือนแพ ไทยเรือนหมู่ ไทยคหบดี นอกจากบ้านสำเร็จ ยังมีเป็นชุดต่อประกอบ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นทรงไทย เช่น โคมไฟทรงไทย ศาลาเล็กทรงไทย เป็นต้น
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

งานดีฝีมือไทยของ ท.ท.ท. ได้รัยการยกย่องเป็นงานดีฝีมือไทย จากท.ท.ท. และมหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนให้เผยแพร่กับผู้สนใจในการฝึกวิชาอาชีพช่วงเดือนเมษายน
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ฝีมือแรงงาน คือคนในชุมชน ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ตลอดจนผู้สนใจอื่น ๆ ร่วมกลุ่มกันให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พัฒนาภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาฝีมือสร้างรายได้เพิ่ม แบ่งปันช่วยเหลือชุมชน สมาชิกร่วมประชุมทำความเข้าใจและผลิตชิ้นงาน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. ดินสำเร็จที่ใช้ในงานหัตถกรรม
2. กาวลาเทกส์ การตราช้าง
3. เครื่องมือแกะสลัก
4. แผ่นไม้อัดทำฐาน
5. กรรไกร กรรไกรซิกแซ๊ก
6. ตรายางลายฝาบ้าน
7. ฟุตเหล็ก
8. ดินสอ
9. ปากคีบ
ขั้นตอนการผลิต

1. นำดินมาเข้าเครื่องรีด ให้เป็นแผ่น ๆ โดยมีความหนา มิลลิเมตร ใช้ทำพื้นกระดาน ตง อะเส ฯลฯ ขนาดหนา 2 มิลลิเมตร ใช้ทำฝาบ้าน ขนาดหนา 3 มิลลิเมตร ใช้ทำเสา ดินสีแดงหนา 1 มิลลิเมตร ใช้ทำหลังคา
2. นำดินแผ่นสีแดงมาตัดเป็นเส้นๆ ด้วยกรรไกรซิกแซ๊ก นำมาทากาวลาเท็กส์มุงเป็นแผ่นกระเบื้องหลังคาบ้านตามขนาดที่กำหนด
3. นำดินขนาดหนา 2 มิลลิเมตร มาปั้มตรายางลายฝาบ้านแกะสลักตามลายเตรียมรอไว้
4. นำดินขนาดหนา 3 มิลลิเมตร มาตัดเป็นเส้น เพื่อใช้ทำเสา ความยาว 7 เซนติเมตร 5.5 เซนติเมตร และ 4.5 เซนติเมตร ตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละแบบ
5. นำชิ้นส่วนที่เตรียมไว้มา ตั้งเสา ติดอะเส ติดตง ปูพื้น ติดฝา ขึ้นโครงสร้าง มุงหลังคา
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
- ใช้กาวลาเท็กส์ ในส่วนที่ต้องการความละเอียดและจดตกแต่งเพราะสามารถจัดได้สะดวกเพราะการยังไม่แห้งส่วนกาวตราช้างใช้ในกระบวนการที่ต้องการให้แห้งเร็ว เช่นการตั้งเสาเป็นต้น
- การตั้งบ้านเรือนไทยต้องใช้เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์มาใช้ เช่นการคาดคะเน การใช้มุม การตั้งฉากชิ้นงานจะออกมาสวยงาม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
กลุ่มเรือนไทยย่อส่วนจากดิน
ที่อยู่ 4 ม.1 ตำบลทางกลาง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220
เบอร์โทรศัพท์ 03-5781-20 08-17769-3673
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นางยุพา การะเวก
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- มาจากกรุงเทพ ฯ นั่งรถตู้ที่อนุสาวรีย์ สายกรุงเทพ ฯ
- ลพบุรี ผ่านถนนหมายเลข 347 หลักกิโลเมตรที่ ถึงที่ทำการกลุ่ม
- รถส่วนตัว จากกรุงเทพ มาตามถนนสายเอเชีย ถึงแยกบางปะหันเลี้ยวเข้าอำเภอบางปะหัน มาตามถนนหมายเลข 347 จากตัวอำเภอถึงที่ทำการกลุ่ม ระยะทาง 7 กิโลเมตร