การกวาดยา-ศูนย์ฝี-ต่อกระดูก
หมวด : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
ประวัติความเป็นมา

การแพทย์พื้นบ้าน เป็นการรักษาผู้ป่วยที่อาศัยความเชื่อประกอบกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในสมัยโบราณ และการใช้ยาสมุนไพรที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ผนวกกับองค์ความรู้เฉพาะตัวของปราชญ์ชาวบ้านหรือที่เรียกกันว่าหมอหมอเป่า เป็นหมอยาอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการรักษาโดยการเป่า หรือเป่าคาถาใส่วัตถุสิ่งของ เช่น หมากพลู น้ำเปล่า น้ำลาย หรือการเป่าลมในปากให้ผู้ป่วยหายจากโรค การรักษาของหมอเป่ามี 2 วิธี คือการเสกเป่าคาถาใส่สมุนไพร น้ำมันแล้วทา อบ นวด พ่น และการเป่าเวทย์มนต์ใส่ด้ายหรือฝ้าย แล้วนำไปผูกข้อมือ แขวนคอ เพื่อรักษาโรค เช่น โรคคางทูม งูสวัด ไฟลวก จะใช้หมากพลูเคี้ยวแล้วเป่าพ่นจนกว่าพิษนั้นจะ ลุงโมรา ธรรมรจน์ อดีตกำนันตำบลขนอนหลวงปัจจุบันอายุ ๘๑ ปี มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คนลุงเป็นคนที่ ๓ ของครอบครัวธรรมรจน์ ลุงเล่าให้ฟังว่าตอนเด็กๆคุณลุงจะสนิทกับตามากชอบดูเวลามีคนเจ็บป่วยมาให้ตารักษา จนตาของลุงเห็นว่าลุงสนใจจริงๆ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ให้ ตอมาลุงโมราบวชเป็นพระ(วัดทำเลไท) ก็ได้เรียนต่อจากพระอาจารย์ ซึ้งมีตำรายาหม้อ-และยาเกี่ยวกับเลือดลม(พอใครมาหาลุงโมราก็จะจดตัวยาให้ไปซึ้อที่ร้านขายยาโบราณแผนไทยพร้อมกับบอกวิธีการต้มกินอย่างละเอียด แต่ถ้าเป็นพวกเริม-งูสวัส-ฝี ลุงจะเป็นคนเป่าพ่นรักษาให้เองเพราะมีคาถาเป่า
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
โรคที่รักษา ศูนย์ฝี-พ่นเริม-เป่างูสวัส-คางทูม-พ่นปว่ง-ท้องเดิน-ต่อกระดูก-เลือดลม-กวาดยาเด็ก
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ในสมัยก่อนที่การสาธารณสุขของเรายังไม่เจริญ หมอโบราณคือที่พึ่งของชาวบ้านได้อย่างดียิ่ง และแม้ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุข ของเราค่อนข้างเจริญ มีโรงพยาบาลทุกอำเภอ มีสถานีอนามัยทุกตำบลแล้วก็ตาม แต่จากกิตติศัพท์และการรักษาที่ได้ผล จึงทำให้ประชาชน ส่วนหนึ่งยังคงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในวิธีการรักษาโดยการกวาดยา เด็กบางคนเมื่อรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันที่มีชื่อเสียงก็ไม่หายจาก อาการป่วย แต่กลับมาหายด้วยการกวาดยาเพียงครั้งเดียว ซึ่งคงจะตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" ก็เป็นได้ หมดโบราณคนนั้นคือ ลุงโมรา ธรรมรจน์ อยู่บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่รู้จักกันดีว่า "หมอโมรา" และหมอคนนี้อายุ ๘๑ ปีแล้ว ยังคงกวาดยาให้เด็ก ๆ อยู่เสมอ
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ

อุปกรณ์กวาดยาถ้วยบด ยา เกลือ มะนาว ยาเผาใช้ระบายและแก้เลือดลมผิดปกติ– กระดูกงูหลาม - อกเต่า - หนังกระเบน - เม็ดมะกอกป่า - เกลือ - พริกแห้ง๑-๒เม็ด - พริกไทยเยอะหน่อย(นำทุกอย่างมาเผารวมกันใหสุก แล้วเอามาบด) อุปกรณ์ต่อกระดูก - มีดหมอ - น้ำมันมนต์ - ไม้สำหรับตั้งแทนแขนขา - รูปถ่าย คนที่เจ็บหมอจะให้นั่งกระดานแผ่นเดียวกันแล้วหมอก็จะทำการถาก ตามพิธีของที่ลุงเรียนมาเป็นการต่อกระดูก
ขั้นตอนการผลิต
คุณลุงเล่าให้เราฟังด้วยสีหน้าที่มีความสุข และเป็นกันเอง วิธีแปรรูปสมุนไพรเป็นการนำเอาสรรพคุณของสมุนไพรมาใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน พืชสมุนไพรแต่ละชนิดก็มีวิธีแปรรูปที่แตกต่างกันไป วิธีแปรรูปสมุนไพรที่พบเห็นได้บ่อยและนิยมใช้กันมากได้แก่ การต้ม วิธีการต้มยาสมุนไพรเป็นหนึ่งในวิธีแปรรูปสมุนไพรที่สามารถสกัดตัวยาที่อยู่ในสมุนไพรให้ออกมาได้ดีกว่าวิธีอื่นๆเพราะต้องใช้ความร้อนมากและเวลาการต้มที่นานกว่า โดยมีน้ำเป็นตัวละลายยาที่อยู่ในต้นพืชสมุนไพร การต้มยาสมุนไพรไม่จำกัดว่าจะเป็นสมุนไพรแห้งหรือสมุนไพรสด โดยมากจะเป็นพืชสมุนไพรจำพวกเปลือกไม้ รากไม้ เมล็ดหรือผลของพืชสมุนไพร การต้มยาสมุนไพรมีข้อดีคือ ทำง่ายและสะดวก สามารถสกัดเอาตัวยาออกมาจากพืชสมุนไพรได้มากแต่ก็มีข้อเสียคือยาสมุนไพรที่ได้จากการต้มมักจะมีรสขม ฝาด กลิ่นและรสชาติไม่น่าดื่มและยาสมุนไพรที่ได้จากการต้มไม่ควรเก็บไว้ข้ามคืนเพราะอาจจะขึ้นราและเสียได้ง่าย ควรดื่มยาสมุนไพรที่ได้จากการต้มให้หมดภายในวันนั้น(ต้มกินวันต่อวัน)
รักษาโรคแบบแผนไทยโบราณ
ที่อยู่ 11 ม.1 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160
เบอร์โทรศัพท์ 087-0769311
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ คุณลุงโมรา ธรรมรจน์