ผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา
หมู่ 1 ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวงมีชาวอิสลามอาศัยอยู่จำนวนมาก ปลาบูดูเป็นอาหารของชาวอิสลาม ซึ่งได้ทำสืบทอดกันมาจากรุ่น พ่อ แม่ อำเภอลาดบัวหลวงเป็นพื้นที่ลาบลุ่ม มีลำคลองหลายสาย ถึงฤดูหน้าน้ำจะมีปลาชุกชุมเนื่องจากปลามีมาก หาง่าย ซึ่งการทำปลาบูดู นั้น ปลาอะไรก็สามารถทำได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นปลาช่อน ปลาตะเพียน (คัดปลาที่มีคุณภาพ) ประชาชนส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะหาปลาจากลำคลองมาบริโภคในครัวเรือน แต่ปลามีมากจนเหลือจากการบริโภคจึงได้คิดหาวิธีแปรรูปปลาให้เก็บไว้ได้นาน จึงได้มีการทดลองนำปลามาหมักกับเกลือ ข้าวคั่ว และกระเทียมหมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วนำมาคั่วกับน้ำมันให้แห้งก่อนรับประทาน ปรากฏว่ามีกลิ่นหอมและรสชาติที่อร่อย ทำให้มีการถนอมอาหาร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการคิดค้นวิธีถนอมอาหารเบื้องต้น
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
-
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
-
ความสัมพันธ์กับชุมชน
เกิดจากการคิดค้นวิธีการถนอมอาหารเบื้องต้นของชาวบ้านที่เหลือจากการบริโภค จนเกิดเป็นภูมิปัญญา ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ปลานิลสด
2. เกลือ
3. ข้าวคั่ว
4. น้ำธรรมชาติต้มสุก
5. กระเทียม
ขั้นตอนการผลิต
1. นำปลานิลมาขอดเกล็ด ควักไส้ เลาะไข้มันออกให้หมด แล่ปลาและล้างทำความสะอาด
2. นำปลาที่ล้างทำความสะอาดแล้วหมักกับเกลือแกงทิ้งไว้ 3 วัน จนเนื้อปลาแข็ง จากนั้นนำมาทำความสะอาดใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้แห้ง
3. นำข้าวคั่วมาเคล้ากับกระเทียมก่อน กระเทียมเป็นตัวช่วยให้ก้างปลานิ่ม ข้าวคั่วทำให้มีกลิ่นหอมและสีสวย
4. นำข้าวคั่วที่เคล้ากับกระเทียมไว้แล้วมาเคล้าเข้ากับเนื้อปลาเรียงใส่โหล
5. เติมน้ำธรรมชาติต้มสุกให้ท่วมเนื้อปลา ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 เดือน ก่อนรับประทาน
2.3 เทคนิค/เคล็ดลับในการรับประทาน
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางลำดวน พลายงาม
ที่อยู่ 56/2 1 - - ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13230
-
-
otoptoday@gmail.com
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางลำดวน พลายงาม
ที่อยู่ 56/2 1 - - ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13230