โครงงอบ
หมวด : ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
ผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา

การจักสานโครงงอบของบ้านหนองจิกนี้ ผู้ที่ริเริ่ม คือ นายสวัสดิ์ อุดมสาลี เป็นชาวตำบลตาลเอน อำเภอบางปะหัน และได้มาตั้งรกรากครอบครัวที่บ้านหนองจิก ซึ่งในสมัยก่อนนั้นบ้านหนองจิกมีไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้นายสวัสดิ์ อุดมสาลี มีความคิดที่จะจักสานโครงงอบเป็นอาชีพเสริม หลังจากว่างจากการ
ทำนา จึงชักชวนลูกหลาน และชาวบ้านใกล้เคียงทำโครงงอบ ลองผิด ลองถูก จนกระทั่งสวยงาม และทำขายในราคาอันละ ๖๐ สตางค์ (พ.ศ.๒๔๙๙) ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาอันละ ๑๑ บาท
ในปัจจุบันชาวบ้านได้ทำเป็นอาชีพเสริม ทำรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้น และบางคนก็ยึดเป็นอาชีพหลักไปเลยก็ว่าได้
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ลำต้น ประมาณ 8-12 เซนติเมตร (3-5 นิ้ว) เนื้อไม้หนา ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนโคนจะมีเนื้อหนา ประมาณ 1.5 เซนติเมตร (ประมาณ 0.7 นิ้ว) ลำต้นมีสีเขียวสด ผิวเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา (ไม่ค่อยโปน) ปล้องยาวประมาณ 25-60 เซนติเมตร ซึ่งเนื้อไม้ไผ่จะมีลวดลายสวยและมีสีเหลือง นำมาจักสานขึ้นกับ
โครงงอบและสานเป็นตาลักษณะเหมือนการสานตาชะลอม มีการขัดลายสวยงามและมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับที่จะทำเป็นโครงงอบ และของใช้ของตกแต่งภายในบ้านหลายชนิด
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. ปี 2546 กลุ่มจักสานโครงงอบ ขึ้นทะเบียนกลุ่มผู้ผลิต OTOP
2. ปี 25๔๙ ได้รับมาตรฐาน ๓ ดาว
ความสัมพันธ์กับชุมชน
กลุ่มจักสานโครงงอบ ใช้แรงงานจากในหมู่บ้านและชุมชนอย่างแท้จริง และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ มีการแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๑. รองงอบ ทำจากไม้จริง
๒. เสาตุ๊กตา ทำจากไม้จริงเพื่อเป็นที่สวมรองงอบ
๓. ไม้ไผ่สีสุก ไม่แก่และอ่อนมาก
๔. เก้าอี้รองนั่งสาน
๕. มีดตอกจักไม้ไผ่
๖. มีดอีโต้ ใช้สำหรับผ่าไม้
๗. เลื่อย ใช้เลื่อยไม้เป็นท่อน
๘. ผ้ารองนิ้วเวลาจักไม้ไผ่
ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนที่ 1. ตอกตั้ง นำไม้ไผ่สีสุก ไม่แก่และอ่อน จนเกินไป นำมาตัดเป็น ๒ ปล้อง จักให้เป็นใบอยู่ที่ปลายไม้ทั้งสองด้าน ประมาณ ๑๐ เซนติเมตรตรงกลางปาดให้เล็กประมาณ ครึ่งเซนติเมตร และลอกให้มีด้านละคู่และอย่าให้แข็งจนเกินไป
ขั้นตอนที่ 2. ตอกสาน ใช้ไม้ไผ่ยาวกี่ปล้องก็ได้ตามต้องการ ปาดให้เล็กประมาณ ครึ่งเซนติเมตร ตลอดเส้น ขูดให้อ่อนพอประมาณ
ขั้นตอนที่ ๓ วงขดหัวงอบ จะมีสี่วง ลดขนาดตามส่วนกันไป วงที่ ๑-๓ จะเป็นเส้นกลมตามขนาด วงที่ ๔ จะเป็นวงแบนใช้ไม้สองปล้อง กว้าง ๑ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมีขดเป็นวงกลมแล้ว ประมาณ ๖ นิ้ว ขนาดเท่ารองงอบ
ขั้นตอนที่ ๔ รองงอบ ใช้ไม้วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ นิ้ว ต้องให้มีลักษณะเป็นวงกลม เพื่อเป็นรองงอบสำหรับทำให้เกิดเป็นรูปโครงงอบ โครงงอบจะสูง ๗ นิ้ว กว้าง ๖ นิ้ว ปลายจะกว้าง ๒๐ นิ้ว เมื่อตกแต่งแล้วจะมีลักษณะสวยงาม
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ต้องใช้ไม้ไผ่สีสุก เป็นมันปลากด ไม่แก่และไม่อ่อนมากจนเกินไป จึงจะได้โครงงอบที่สวยงามและเส้นตอกเป็นมัน
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มจักสานโครงงอบ
ที่อยู่ * 1-5 * * ตำบลกะทุ่ม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13150
0894445226
*
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางอำภา ทองทา
ที่อยู่ * 1-2 * * ตำบลกะทุ่ม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13150
0894445226
*
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1 ที่ทำการกลุ่มจักสานโครงงอบ
สถานที่ผลิต บ้านหนองจิก ๑๖/๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลกะทุ่ม อำเภอมหาราช
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13150
โทรศัพท์ 08๙ - ๔๔๔๕๒๒๖