เรือจำลอง
หมวด : ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
ผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา

“กรุงศรีอยุธยา” เวนิสแห่งตะวันออก
อยุธยามหานครแห่งความเจริญรุ่งเรืองจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางการค้า,การเมือง,การปกครอง,เส้นทางการคมนาคมทางน้ำและเมืองแห่งวัฒนธรรม อันรุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี โดยเฉพาะวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งเรือพื้นบ้าน เรือจากต่างถิ่น ท่ามกลางความหลากหลายดังกล่าว เรือแห่งประเทศสยาม จึงได้สร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยน ประดิษฐ์ขึ้น จนก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์แห่งเรือสยาม
สืบเนืองมาจากอดีตถึงปัจจุบัน คนไทยมีความผูกพันกับศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกับน้ำอย่างแนบแน่น ทั้งในด้านการดำรงชีวิต การคมนาคม โดยเฉพาะทางด้านการค้า เรือจึงเป็นพาหนะที่สำคัญ นอกจากจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังถูกนำมาใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆอีกด้วย เรือใบ,เรือสำเภา,และเรือแบบอื่นๆที่เป็นเรือจำลองขนาดเล็กๆประดิษฐ์ขึ้นจากไม้ ถือว่าเป็นของตกแต่งบ้านที่ดีมาก เรือจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการค้าขาย ความมั่นคงและการเดินทาง การตกแต่งบ้านด้วยเรือจำลองจะบันดาลให้คุณมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเสมอและมีเงินทองมั่งคั่ง หากทำธุรกิจการค้าก็จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เรือยังเป็นสัญลักษณ์ของความสำราญเบิกบานใจอีกด้วย
กลุ่มเยาวชนต่อเรือจำลองจึงได้เห็นคุณค่าของเรืออันเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของเรือชนิดต่างๆนำมาประดิษฐ์ในรูปแบบการจำลองให้ขนาดเล็กลง โดยเริ่มทำภายในครอบครัวตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๑ และขยายความรู้สู่ชุมชนในท้องถิ่น โดยเริ่มจากการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างรายได้และอนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของคนไทย มิให้สูญหายไป ณ ที่ทำการกลุ่มเยาวชนต่อเรือจำลอง ( ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลข้าวงาม ) เลขที่ ๗๔ หมู่ ๔ ตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์


มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

• คัดสรรปีแรก พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ระดับ ๕ ดาว
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้ระดับ ๕ ดาว
พ.ศ.๒๕๕๑ ได้ระดับ ๕ ดาว
• คัดสรรของหน่วยงานกระทรวงพานิชย์ ได้เกรด A เป็น OTOP SELECT ปี ๒๕๔๙
• ได้โล่ประกาศเกียรติคุณเป็นผู้นำภูมิปัญญาดีเด่น ของจังหวัดปทุมธานี
• ได้รับประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณงามความดี เป็นแบบอย่างของสังคมไทยตามโครงการเมืองไทยเมืองคนดี ปี ๒๕๕๑
• ได้รับเกียรติบัตรความเป็นเลิศด้านหัตถกรรม จากศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ประจำปี ๒๕๕๐ ระดับประเทศ
ความสัมพันธ์กับชุมชน

กลุ่มเยาวชนต่อเรือจำลอง ร่วมกันอนุรักษ์มรดกไทย ทำให้คนในชุมชนเกิดรายได้ เกิดการจ้างงานในชุมชน นอกจากนี้ กลุ่มเยาวชนต่อเรือยังเปิดสอนวิชาชีพการ ต่อเรือให้กับผู้สนใจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจมาฝึกฝนวิชาการต่อเรือมากมาย
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ


• ไม้สักทอง
• กาวร้อน
• ผ้าไหม
• ด้ายไนล่อน ๑๐๐%
ขั้นตอนการผลิต

๑. กำหนดขนาด และแบบของเรือสำเภา ทำการเขียนแบบ
๒. ตัดชิ้นส่วนโครงสร้างของเรือแต่ละชิ้น
๓. ประกอบโครงสร้าง กงเรือ กระดูกกงเข้าด้วยกัน
๔. ใส่กาบเรือ ใส่พื้นเรือ ใส่เปลือกเรือ
๕. ขัดท้องเรือให้เรียบ ตกแต่งรายละเอียดของเรือสำเภาให้ครบถ้วน
๖. ทำชิ้นส่วนองค์ประกอบเรือ (ใบเรือ,กว้านเรือ,หางเสือ,สมอเรือ) นำมาประกอบเข้ากับตัวเรือ
๗. พ่นแล็คเกอร์ ขัดเงา ตกแต่ง แล้วพ่นแล็คเกอร์อีกครั้ง
๘. ตรวจสอบความเรียบร้อย บรรจุกล่องพร้อมจำหน่าย
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

• ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เกรด A ใช้ผ้าไหมดิ้นทอง ซึ่งไม่มีขายในท้องตลาดเป็นการ ฉีกแนวกับของที่ขายในตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น
• ย่อแบบจากแบบเรือจริง
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มเยาวชนต่อเรือจำลอง
ที่อยู่ 74 4 * * ตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
๐๘๖-๐๙๙๗๗๘๑,๐๘๐-๕๘๐๘๖๖๖
*
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
: นายพิพัฒน์ รื่นสาด
ที่อยู่ 74 4 * * ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
๐๘๖-๐๙๙๗๗๘๑,๐๘๐-๕๘๐๘๖๖๖
*
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
• เว็บไซบ์ ( Web site)
• กลุ่มเยาวชนต่อเรือจำลอง
• งานจำหน่ายสินค้า OTOP