ข่าวกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 49/2560 กรมเจ้าท่า ขอประชาสัมพันธ์มาตรการบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชน ในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ เพื่อไม่ให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฉบับที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๖๐ ส่งผลที่กระทบที่รุนแรงต่อสังคมโดยรวม
กรมเจ้าท่า จึงขอประชาสัมพันธ์มาตรการบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นตามที่อนุญาตทราบ ดังนี้
1. ผู้มาแจ้งการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ปลูกสร้างก่อนวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
ต่อกรมเจ้าท่าภายในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ จะได้รับยกเว้นโทษอาญาและโทษปรับทางปกครอง
ผู้ที่เคยแจ้งต่อกรมเจ้าท่าก่อนการมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ไม่จำเป็นต้องทำการแจ้งใหม่ ถือว่า
ได้แจ้งตามคำสั่งนี้แล้ว
2. ผู้แจ้งตามข้อ ๑ ต้องยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำหรือการได้รับอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่แจ้ง โดยเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
2.1 กรณีไม่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน
2.1.1 หลักฐานแสดงการครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) สำเนาทะเบียนบ้านกรณีสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำประเภทอาคารที่พักอาศัย
(2) เอกสารหลักฐานการขอติดตั้งไฟฟ้า หรือน้ำประปา หรือภาษีโรงเรือน
(3) หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ระบุปี พ.ศ. การก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
จากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำนั้นตั้งอยู่
(4) ภาพถ่ายทางอากาศของปีที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
(5) กรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ให้แสดงหลักฐานเอกสารในปีที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
2.1.2 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรณีที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าต้องจัดทำ
2.2 กรณีได้รับอนุญาต แต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต ให้แสดงใบอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำแม่น้ำ
3. เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วน กรมเจ้าท่าจะพิจารณาโดยคำนึงถึงช่วงเวลาการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ดังนี้
๓.๑ สิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ปลูกสร้างก่อนวันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ กรมเจ้าท่าจะขึ้นทะเบียนสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ เพื่อควบคุมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
๓.๒ กรมเจ้าท่าจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต กรณีดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่
๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ จนถึงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕
๓.๒.๒ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำทั่วประเทศที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงวันที่
๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
๓.๒.๓ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำทั่วประเทศที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงวันที่
๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต กรมเจ้าท่าพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้
(๑) สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำต้องไม่มีลักษณะหรือสภาพที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรือทำให้ทางน้ำเปลี่ยนแปลง
หรือก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
(๒) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรตามวัตถุประสงค์
(๓) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ ต้องไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมาย
ว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการประมง
สำหรับประเภทสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมกำหนดประเภทที่จะอนุญาตได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) จำนวน ๑7 ประเภท ดังนี้
(1) ท่าเทียบเรือ (๒) สะพานปรับระดับและโป๊ะเทียบเรือ (๓) สะพานข้ามแม่น้ำหรือสะพานข้ามคลอง
(๔) ท่อหรือสายเคเบิล (๕) เขื่อนกันน้ำเซาะ (๖) คานเรือ
(๗) โรงสูบน้ำ (๘) กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๙) ท่าเทียบเรือทางลาดในแม่น้ำโขง
(๑๐) ปะการังเทียม (๑๑) ท่อลอด (๑๒) แพสูบน้ำ
(๑๓) เขื่อนกันทรายกันคลื่น (๑4) ฝายน้ำล้น (๑5) สะพานทางเดิน
(16) อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้สำหรับวิถีชีวิตชุมชน การประกอบอาชีพในภาคเกษตร และศาสนสถาน
(17) สิ่งปลูกสร้างสำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
๕. กรมเจ้าท่าจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบผลการพิจารณาภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วน
๖. สำหรับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 การขออนุญาตเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560
๗. ผู้ได้รับอนุญาตต้องชำระค่าตอบแทนรายปีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด เช่น บ้านพักอาศัย ตารางเมตรละ ๕ บาทต่อปี ส่วนกระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำสำหรับการประกอบอาชีพในภาคเกษตร ไม่เก็บค่าตอบแทนรายปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักกฎหมาย กรมเจ้าท่า โทร ๐ ๒๒๓๓ ๑๓๑๑ – ๘ ต่อ ๒๕๒, ๓๘๑ หรือ
๐ ๒๖๓๙ ๔๗๗๒
ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชน
ในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ เพื่อไม่ให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฉบับที่ ๑๗
พ.ศ. ๒๕๖๐ ส่งผลที่กระทบที่รุนแรงต่อสังคมโดยรวม
กรมเจ้าท่า จึงขอประชาสัมพันธ์มาตรการบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นตามที่อนุญาตทราบ ดังนี้
1. ผู้มาแจ้งการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ปลูกสร้างก่อนวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
ต่อกรมเจ้าท่าภายในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ จะได้รับยกเว้นโทษอาญาและโทษปรับทางปกครอง
ผู้ที่เคยแจ้งต่อกรมเจ้าท่าก่อนการมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ไม่จำเป็นต้องทำการแจ้งใหม่ ถือว่า
ได้แจ้งตามคำสั่งนี้แล้ว
2. ผู้แจ้งตามข้อ ๑ ต้องยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำหรือการได้รับอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่แจ้ง โดยเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
2.1 กรณีไม่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน
2.1.1 หลักฐานแสดงการครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) สำเนาทะเบียนบ้านกรณีสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำประเภทอาคารที่พักอาศัย
(2) เอกสารหลักฐานการขอติดตั้งไฟฟ้า หรือน้ำประปา หรือภาษีโรงเรือน
(3) หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ระบุปี พ.ศ. การก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
จากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำนั้นตั้งอยู่
(4) ภาพถ่ายทางอากาศของปีที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
(5) กรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ให้แสดงหลักฐานเอกสารในปีที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ
2.1.2 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรณีที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าต้องจัดทำ
2.2 กรณีได้รับอนุญาต แต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต ให้แสดงใบอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำแม่น้ำ
3. เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วน กรมเจ้าท่าจะพิจารณาโดยคำนึงถึงช่วงเวลาการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ดังนี้
๓.๑ สิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ปลูกสร้างก่อนวันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ กรมเจ้าท่าจะขึ้นทะเบียนสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ เพื่อควบคุมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
๓.๒ กรมเจ้าท่าจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต กรณีดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่
๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ จนถึงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕
๓.๒.๒ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำทั่วประเทศที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงวันที่
๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
๓.๒.๓ สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำทั่วประเทศที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงวันที่
๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต กรมเจ้าท่าพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้
(๑) สิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำต้องไม่มีลักษณะหรือสภาพที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรือทำให้ทางน้ำเปลี่ยนแปลง
หรือก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
(๒) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรตามวัตถุประสงค์
(๓) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ ต้องไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมาย
ว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการประมง
สำหรับประเภทสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมกำหนดประเภทที่จะอนุญาตได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) จำนวน ๑7 ประเภท ดังนี้
(1) ท่าเทียบเรือ (๒) สะพานปรับระดับและโป๊ะเทียบเรือ (๓) สะพานข้ามแม่น้ำหรือสะพานข้ามคลอง
(๔) ท่อหรือสายเคเบิล (๕) เขื่อนกันน้ำเซาะ (๖) คานเรือ
(๗) โรงสูบน้ำ (๘) กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๙) ท่าเทียบเรือทางลาดในแม่น้ำโขง
(๑๐) ปะการังเทียม (๑๑) ท่อลอด (๑๒) แพสูบน้ำ
(๑๓) เขื่อนกันทรายกันคลื่น (๑4) ฝายน้ำล้น (๑5) สะพานทางเดิน
(16) อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้สำหรับวิถีชีวิตชุมชน การประกอบอาชีพในภาคเกษตร และศาสนสถาน
(17) สิ่งปลูกสร้างสำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
๕. กรมเจ้าท่าจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบผลการพิจารณาภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วน
๖. สำหรับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 การขออนุญาตเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560
๗. ผู้ได้รับอนุญาตต้องชำระค่าตอบแทนรายปีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด เช่น บ้านพักอาศัย ตารางเมตรละ ๕ บาทต่อปี ส่วนกระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำสำหรับการประกอบอาชีพในภาคเกษตร ไม่เก็บค่าตอบแทนรายปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักกฎหมาย กรมเจ้าท่า โทร ๐ ๒๒๓๓ ๑๓๑๑ – ๘ ต่อ ๒๕๒, ๓๘๑ หรือ
๐ ๒๖๓๙ ๔๗๗๒

