โครงการขุดดินแลกน้ำ
24 พฤศจิกายน 2559
วันที่ 24 พ.ย.2559 เวลา14.30-16.00
ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการน้ำตามโครงการขุดดินแลกน้ำ คือจัดทำโครงการให้เอกชนขุดแหล่งน้ำโดยใช้ดินที่ขุดได้แลกเป็นค่าแรงตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการและทำให้ทางราชการประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก. โดยมีนายเรวัต ประสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ว่าที่ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง ปลัดจังหวัดฯ ที่ดินจังหวัดฯ ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดฯ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฯ นายอำเภอ/ผู้แทนทุกอำเภอ ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ได้ข้อสรุปที่สำคัญจากการประชุมดังนี้.
1.จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีที่ดินสาธารณประโยชน์ ทั้งที่ออกนสล.แล้ว และที่ยังไม่ออกนสล.แต่มีการเดินสำรวจและจัดทำแนวเขตและแผนที่สังเขปตามโครงการ One Map ไว้แล้วประมาณ. 250 แปลง.
2.ให้ที่ทำการปกครองจังหวัด(กลุ่มบริหารงานปกครอง)เป็นฝ่ายเลขานุการ จัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างการจัดทำโครงการ แบบการจัดทำสัญญาจ้างเอกชนในการดำเนินการโครงการที่ผ่านการตรวจสอบจากพนักงานอัยการแล้วว่าทางราชการไม่เสียเปรียบและเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องในการคิดค่าแรงงานขุด และราคาดินจากการขุด โดยมีพาณิชย์จังหวัดหรือผู้แทนร่วมพิจารณาด้วย.
3.ให้ทุกอำเภอจัดทำโครงการตามแนวทางข้อ2 นำร่องก่อนอำเภอละ 1 โครงการเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติภายในเดือนธันวาคม 2559 โดยพิจารณาจากที่สาธารณประโยชน์ประเภท ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ทีไม่ต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงสภาพหรือวัตถุประสงค์การใช้ก่อน โดยมีการประชาคม มีการจัดทำแบบแปลนในรายละเอียดโดยช่างของท้องถิ่น ให้เป็นไปตามรูปแบบรายละเอียดโครงการ และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับเช่นกฏหมายเกี่ยวกับการขุดดินถมดิน ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯเป็นต้น และจัดตั้งคณะทำงานในระดับอำเภอ จากส่วนราชการและผู้บริหารท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการเบื้องต้นก่อนเสนอผ่านสำนักงานที่ดินอำเภอ/สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแล้วแต่กรณีเพื่อเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความเห็นชอบ.
4.ที่ทำการปกครองจังหวัด เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการระดับจังหวัด ประกอบด้วย ปลัดจังหวัด ที่ดินจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ชลประทานจังหวัด เจ้าท่าภูมิภาค ปภ.จังหวัด ทสจ.จังหวัด นายอำเภอ เป็นต้น โดยมีรองผวจ.(1)เป็นประธานและจ่าจังหวัดเป็นเลขานุการ.
5.การดำเนินโครงการ ต้องมีป้ายโครงการ มีคณะกรรมการตรวจรับงานให้เป็นไปตามรูปแบบรายละเอียดโครงการ มีการบรรทุกนำ้หนักไม่เกินอัตราที่กฏหมายกำหนด มีการกำหนดเงื่อนไขรับผิดชอบซ่อมแซมถนนที่เสียหายจากการบรรทุก เป็นต้น
ข้อมูลจาก : line อย.กรมการ จ.กรุงเก่า (ป.เจนวิทย์ เลขา ปจ.)
(ข่าวสารจาก facebook)