ข่าวจาก สนง.ประชาสัมพันธ์
เปิดภารกิจนายกฯ ลงพื้นที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 (ยะลา - นราธิวาส)
29 กุมภาพันธ์ 2567
จังหวัดยะลา
• เวลา 07.45 น. นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชม Skywalk อัยเยอร์เวง ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
• เวลา 09.20 น. นายกรัฐมนตรี ออกเดินทางจากท่าอากาศยานเบตง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ไปยังท่าอากาศยานนราธิวาส ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส
• เวลา 10.20 น. นายกรัฐมนตรี สักการะพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ณ พุทธมณฑลจังหวัดนราธิวาส (พุทธอุทยานเขากง) ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
• เวลา 10.50 น. นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมกิจกรรม “นวัต .. วัฒนธรรม” ภายในแนวคิด Culture, Creative and Innovation และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้ คัมภีร์อัล-กุรอาน ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
• เวลา 11.10 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือยกระดับการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้ คัมภีร์อัล-กุรอาน
• เวลา 15.00 น. นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
สนามบินเบตงศูนย์กลางการท่องเที่ยวชายแดนใต้
สนามบินเบตง เป็นสนามบินแห่งใหม่ล่าสุดลำดับที่ 29 ของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เริ่มก่อสร้าง
เมื่อปี 2560 ใช้พื้นที่ก่อสร้าง 920 ไร่ แล้วเสร็จเมื่อปี 2562 เพื่อแก้ปัญหาการเดินทางสู่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ให้สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก และปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ สนามบินเบตง มีสโลแกนว่า “สวรรค์บนดิน สนามบินเบตง”
เป็นท่าอากาศยานขนาดเล็ก สามารถรองรับเครื่องบินเล็ก 80 ที่นั่ง โดยมีขนาดสนามบินกว้าง 30 เมตร
ยาว 1,800 เมตร รองรับผู้มาใช้บริการได้ 300 คน ต่อ 1 ชั่วโมง มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ราว 876,000 คนต่อปี ถือว่าเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่สำคัญของไทยที่มีศักยภาพในการยกระดับการบริการ
เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ในอนาคต
ปัจจุบันท่าอากาศยานเบตงถือเป็นท่าอากาศยานสำคัญที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ถือว่าเป็นการสนับสนุนการคมนาคมทางอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้บริการแก่พี่น้องประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศ และต่างประเทศได้อย่างเพียงพอ
อาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน
พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัลกุรอาน ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนสมานมิตรวิทยา เมื่อพุทธศักราช 2556 กรมศิลปากรได้รับการประสานงานและเข้าตรวจเยี่ยมโรงเรียนสมานมิตรวิทยา พบว่าโรงเรียนดังกล่าวได้เล็งเห็นคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอิสลาม และเก็บรวบรวมและดูแลรักษาคัมภีร์อัลกุรอานโบราณไว้ประมาณ 70 เล่ม ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวมีแหล่งที่มาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี สเปน และเยเมน เป็นต้น ซึ่งคัมภีร์ที่ทางโรงเรียนเก็บรักษาไว้ได้ดูแลเป็นอย่างดี มีการประเมินอายุ เบื้องต้นจากข้อความและวันเดือนปีที่ปรากฏบนเอกสาร โดยสรุปได้ว่าคัมภีร์เหล่านี้มีอายุอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 100-860 ปีมาแล้ว และด้วยความมุ่งมั่นของผู้บริหารโรงเรียนดังกล่าวประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสถานศึกษาสอนศาสนาอิสลามต้นแบบในการธำรงรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านการอนุรักษ์เอกสารโบราณ (คัมภีร์อัลกุรอาน) จึงเสนอแนวคิดที่จะจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานขึ้นพร้อมการสนับสนุนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ทางกรมศิลปากรเริ่มออกแบบเพื่อก่อสร้างอาคารในปีงบประมาณ 2557 และดำเนินการก่อสร้างในปี 2559 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานก่อสร้างในส่วนของอาคารสถานที่ได้แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกำหนดจัดแสดงนิทรรศการประกอบด้วยห้องที่ 1 ห้องบรรยายเกริ่นนำ ห้องที่ 2 วิถีมุสลิม แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมตามแนวทางที่ศาสนาอิสลามบัญญัติไว้ เนื้อหาเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เนื้อหาเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และห้องที่ 3 คัมภีร์อัลกุรอานและเอกสารโบราณ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามเส้นทางการเผยแผ่ศาสนาอิสลามสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย โดยมีเนื้อหา 3 ภาษาคือ ไทย อังกฤษและมลายูปาตานี
#ใต้สุดใจ #ยะลา #นราธิวาส #กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา #กระทรวงวัฒนธรรม #กระทรวงคมนาคม
#สำนักนายกรัฐมนตรี #กระทรวงยุติธรรม #กระทรวงมหาดไทย #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง
(ข่าวสารจาก facebook)