แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ.2566-2570)
-
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาโดยยึดหลักยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) แผนแม่บทายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาติ นโยบายรัฐบาลรวมทั้งแผนรายสาขา แผนเฉพาะด้านต่าง ๆ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และแผนพัฒนาภาคกลางเป็นกรอบการดำเนินงาน ทั้งนี้ใช้กระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนทั้งหน่วยภาครัฐภาคเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมความมั่นคงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโลกทิศทางการพัฒนาประเทศและภาคกลางจึงสรุปทิศทางในการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปี พ.ศ. 2566 – 2570 ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ตำแหน่งการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (Positioning)
-
HUB เป็นศูนย์กลาง: พระนครศรีอยุธยามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมการค้าและบริการการท่องเที่ยวการคมนาคมและโลจิสติกส์
-
ENVIRONMENTALLY FRIENDLY เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: พระนครศรีอยุธยามุ่งเน้นการพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
-
ANCIENTRY เป็นเมืองโบราณ: พระนครศรีอยุธยามีแหล่งโบราณสถานที่มีเอกลักษณ์ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก
-
DIVERSITY เป็นเมืองที่มีความหลากหลาย: พระนครศรีอยุธยามีความหลากหลายทางด้านสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายการพัฒนา
“อยุธยาเมืองมรดกโลกเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพน่าเรียนรู้น่าอยู่น่าลงทุน”
แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ: เมืองอยุธยาที่มีความพร้อมสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวคุณภาพ MODEL โดยอยู่บนฐานของการสร้างความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา
น่าเรียนรู้: พระนครศรีอยุธยามีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งทางด้านวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้จากชุมชน
น่าอยู่:พระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองที่มีการปรับปรุงและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทั้งกายภาพและทางสังคมอย่างต่อเนื่องมีการนำทรัพยากรของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีศักยภาพสูงสุดเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี
น่าลงทุน: พระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งการลงทุนที่มีศักยภาพทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคบริการ
ประกอบด้วย 3 ประเด็นการพัฒนา ได้แก่
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 พัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่เมืองแห่งความสุข
แผนงาน :
- 1.พัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา
-
2.พัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นระบบการสัญจรหลัก และ
เชื่อมโยงระบบขนส่งของประเทศ
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอัจฉริยะคุณภาพสูง
แผนงาน :
-
1.พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานและความปลอดภัยด้วยหลัก Universal Design เพื่อรองรับสู่การท่องเที่ยวอัจฉริยะ
-
2.พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิง สร้างสร้างสรรค์ในทุกระดับ
-
3.พัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 สร้างฐานเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์
แผนงาน :
-
1.ยกระดับศักยภาพของกำลังคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย เพื่อรองรับ ภาคเกษตร
อุตสาหกรรม การค้าและบริการ
-
2.ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง ภาคเกษตร
อุตสาหกรรม การค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและ
ภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์
-
3.การจัดการห่วงโซอุปทานภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและบริการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
ตัวชี้วัด
|
ค่าเป้าหมาย
|
พ.ศ.2566
|
พ.ศ.2566
|
พ.ศ.2566
|
พ.ศ.2566
|
พ.ศ.2566
|
พ.ศ.2566 - 2570
|
1.จำนวนแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดเพิ่มขึ้น
|
37.54
|
44
|
46
|
47
|
48
|
49
|
2.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว
|
7
|
9
|
11
|
13
|
15
|
11
|
3.อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพิ่มขึ้น
|
0.78
|
1.50
|
2
|
2.50
|
3
|
3.50
|
4.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมลค่าการลงทุนด้านอุตสาหกรรม
|
1.78
|
3
|
3.20
|
3.22
|
3.24
|
3.26
|
5.ระดับดัชนีความก้าวหน้าของคนเพิ่มขึ้น
|
0.673
|
0.68
|
0.68
|
0.70
|
0.70
|
0.72
|